วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สร้างกระถางธูปมังกร กระถางธูปหงส์ และ เทพทวารบาลในวันเข้าพรรษา


ภาพถ่าย ณ โรงงานเซรามิค โดยช่างปั้นแบบหล่อเป็นช่างชาวธิเบตเป็นนายช่างใหญ่ มีผู้ช่วยช่างชาวไทย (ส่วนหลวงปู่เป็นผู้ออกแบบ ควบคุมการผลิต และปรับแต่งแก้ไขเอง และผู้สั่งการ) ช่างฝีมือสุดยอดอลังการงานสร้างจริงๆครับ น้ำหนักของกระถางธูปประมาณคราวๆ ไม่หน้าจะต่ำกว่า 2 ตัน (2,000 กก.) เฉพาะค่าโลหะต้องใช้งบประมาณกว่า 400,000 บาท เท่าที่สอบถามค่าจ้างช่างหล่อจากหลวงปู่ท่านแจ้งว่า โรงหล่อเค้าคิดค่าหล่อใบละ 250,000 บาท
เทพทวารบาล (ฉินฉงกับเว่ยฉือกง) หรือที่คนไทยจีนเรียกมึ่งซิ้ง


ประวัติความเป็นมา:

เทพพิทักษ์ประตูบ้านประตูเมือง ภาพทวารบาลที่เป็นนักรบสมัยโบราณนั้นมักจะเป็นภาพขุนศึก ซึ่งอยู่ในยุค ต่าง ๆ กันของประวัติศาสตร์ เช่น แม่ทัพงักฮุย ขุนศึกจ้าวอวิ๋น ขุนพลซุนปิน ขุนพลหลง เจวียน เป็นต้น แต่ในปัจจุบันภาพทวารบาลที่นิยมกันมาก คือ ขุนศึกฉินฉง และขุนศึกเว่ย ฉือกง ในสมัยราชวงศ์ฮั่น "ศรีษะสวมหมวกเหล็กแสงแวววาบ กายหุ้มเสื้อเกราะเกล็ดมังกร พวกเขา เดิมเป็นวีระบุรุษยอดเยี่ยมในการรบ ต่อมาลดตำแหน่งเป็นเพียงทวารบาล" ข้อความ ข้างต้นได้กล่าวไว้ใน ตอนที่ 14 ของเรื่องไซอิ๋ว โดยได้กล่าวอีกว่า ในสมัยราชวงศ์ถัง หลังจากที่เสนาบดีเว่ยเจิ้งเมิ้งได้ฆ่ามังกรเฒ่าแห่งแม่น้ำจิ้งตายแล้ว พระเจ้าถังไท่จงมักจะ บรรทมอย่างไม่มีความสุข เพราะนอกห้องบรรทมมักจะมีเสียงขว้างอิฐขว้างดิน ประสม ปนเปกับเสียงร่ำเรียกของเหล่าภูตผีปีศาจ พระเจ้าถังไท่จงได้นำเรื่องนี้ปรึกษาขุนนาง อำมาตย์ แต่ขุนศึกฉินซูเป่าได้ออกมาประกาศตนว่า ข้าน้อยฆ่าคนเหมือนผักปลา ข้าศึก มาราวกองมดมิคณามือ ใยจะเกรงกลัวภูตผีปีศาจเล่า ข้าน้อยกับขุนศึกหูจิ้งเต๋อ (ก็คือเว่ยฉือ จิ้งเต๋อ) ขอขันอาสายืนอารักขาให้" หลังจากที่ขุนศึกฉินซูเป่าและหูจิ้งเต๋อทั้งสองเฝ้าอารักขาที่ประตูตลอดคืน เป็นต้นมา ผลปรากฏว่าหน้าห้องบรรทมเงียบสงบ ไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น พระเจ้าถัง ไท่จงทรงเห็นถึงความยากลำบากของขุนศึกทั้งสอง จึงมีพระราชโองการให้วาดภาพ ของขุนพลทั้งสองลงบนกระดาษ โดยมีภาพลักษณ์ของขุนศึกทั้งสองคือ มือถือขวานหยก เอวเหน็บแส้และธนู ใบหน้าแสดงอาการโกรธเกรี้ยว แล้วติดบนบานประตูทั้งสองข้างของ ราชสำนักตำหนัก 31 แห่ง บริเวณลานราชสำนักอีก 72 แห่ง ปรากฏว่าราชสำนักสงบ ร่มเย็นตลอดมา ต่อมาภายหลัง คนก็ได้ใช้วิธีการดังกล่าว โดยนำภาพขุนศึกติดตรงประตูเป็น ทวารบาล มีบางคนไม่ใช้ภาพเพียงแต่เขียนชื่อของขุนศึกทั้งสองแทนแล้วติดบนประตู ละข้าง ดั้งเดิมนั้นภาพทวารบาลใช้เพียงในเหล่าขุนนางตระกูลสูงเท่านั้น ต่อมาก็ค่อย ๆ แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป

ซึ่งในวันเข้าพรรษานี้หลวงปู่จักทำพิธีหล่อพร้อมกันกับกระถางธูปมังกร กระถางธูปหงส์ เทพทวารบาล

1 ความคิดเห็น:

Tid2533 กล่าวว่า...

เข้ามาเยี่ยมชมจ้า

Live หลวงปู่​พุทธะอิสระ แสดงธรรม ช่วงบ่าย 11ส.ค.2562

หลวงปู่​พุทธะอิสระ แสดงธรรม ช่วงบ่าย 11ส.ค.2562 ติดตามรับชมได้ที่ Website : https://issaradhamchannel.com/  Facebook : https://www.fa...